"สมเด็จพระบรมราชชนกทรงสั่งสอนนักเรียนอยู่เสมอคือ หลักของการทำงาน สรุปได้ว่าต้องมี
1.ความรู้ในสิ่งที่พึงกระทำ (Knowledge)
2.ต้องมีไหวพริบในการกระทำ (Intelligence)
3.ต้องมีความละเอียดถี่ถ้วน (Thoroughness)
เพื่อให้จำง่ายให้รวมอักษรตัวแรกว่า KIT หรือ คิด คือการเตือนให้ใช้ความคิด"
ข้อคิดดีๆที่ได้จากหนังสือพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสมเด็จย่า ซื้อหาได้จากพระตำหนักดอยตุง เชียงราย
สำหรับคนทำงาน หากต้องการประสบความสำเร็จด้วยการนำหลักการที่ท่านได้ทรงสั่งสอนไว้ ก็จะเป็นการดีมาก โดยที่
1. ต้องเชี่ยวชาญในสาขา ตำแหน่ง แผนก หรืองานที่ตนรับผิดชอบให้ดี มิใช่การทำงานแบบขอไปที เข้าเช้า ออกเย็น รอรับเงินเดือนอย่างเดียวไม่ได้ ความเชี่ยวชาญที่ว่านี้ ก็หมายรวมถึงการที่สามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ให้กับผู้อื่นได้ ทั้งสอนลูกน้องให้ทำงานเป็น มอบหมายงานให้ลูกน้องไปทำต่อได้อย่างไม่ติดขัด หรือแม้แต่การรายงานผลการทำงานของเรา้เองให้กับหัวหน้า่งานได้รับทราบ และเข้าใจ เมื่อหัวหน้านำไปรายงานต่อ หรือขยายผลงานของเราให้เป็นโครงการที่ส่งผลดีต่อการเติบโตขององค์กร ก็สามารถทำได้ทันที และที่สุด ใคร ๆ ก็จะต่างชื่นชมในสิ่งที่เราทำอย่างเข้าใจ มิใช่การชื่นชมแค่ผิวเผิน
2. นอกจากความฉลาดแล้ว ก็ต้องมีความเฉลียวด้วย ลงมือทำสิ่งใด ควรทำอย่างรอบคอบ คิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ คิดให้รอบด้าน เมื่อคิดแล้วลงมือทำ หากเจออุปสรรค ก็สามารถวิเคราะห์ ตรึกตรองปัญหา และหาทางออกได้อย่างไม่ยากเย็น แม้จะไม่สามารถแก้ได้ในครั้งแรก แต่ไม่หยุดหาคำตอบ มุ่งมั่น ตั้งใจที่จะศึกษาอย่างละเอียด เข้าใจในปัญหา รับรู้กระบวนการตั้งแต่ต้นจนสุดท้ายอย่างถ่องแท้ ท้ายที่สุด คำตอบจะอยู่ตรงหน้าอย่างชัดเจน
3. เวลาลงมือทำงาน ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ยากหรือง่าย ไม่ควรทำแบบผักชีโรยหน้า แต่ต้องทำงานอย่างจริงจัง ทำความเข้าใจในงานในทุุกรายละเอียด ไม่มองข้ามจุดใดจุดหนึ่งไปอย่างประมาท หากไม่แน่ใจ ควรเขียนรายการออกมา วิเคราะห์แต่ละข้อ และประเมินความเป็นไปได้ ความละเอียดนี้ ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของตัวงานเท่านั้น แต่หมายถึงความละเอียดกับการใส่ใจต่อคนรอบข้างที่อาจได้รับผลกระทบต่องานที่ทำ ทั้งด้านกายภาพและจิตใจ คิดสะระตะไว้ก่อนว่า จะมีผู้ใดได้รับผลกระทบบ้าง หากต้องแจ้งให้เขารับทราบ ควรทำทันที หากต้องการความร่วมมือ ควรขอร้องอย่างจริงใจพร้อมให้ข้อมูลแก่เขาให้ครบถ้วน ไม่ควรกั๊กไว้ประหนึ่งเกรงจะถุกฉกชิงผลงานไป หากมีความจริงใจต่อกันแล้วละก็ ไม่ว่างานไหน ๆ ก็สำเร็จไปด้วยความสาัมัคคีร่วมกันแน่นอน
คิดเสมอ ก่อนลงมือทำ
วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
จงเป็นผู้นำของผู้นำ มิใช่แค่ผู้นำของผู้ตาม
จงเป็น...
ผู้นำของผู้นำ
มิใช่แค่..
ผู้นำของผู้ตาม
จงเป็นผู้นำของผู้นำ มิใช่แค่ ผู้นำของผู้ตาม
ใคร ๆ ก็เป็นผู้นำได้ เพียงแค่คุณฝึกและหมั่นสร้างภาวะผู้นำให้เกิดกับตัวเรา ในหลายตำรา ในหลายอาจารย์ และในหลายสำนัก ต่างก็บอกเหมือนกัน
แต่การจะเป็นผู้นำให้ยืนยาว และเป็นผู้นำเหนือผู้นำนั้น ใคร ๆ ก็ทำ ได้จริงหรือ เพราะมันต้อง กล้า ซ่า บ้า และท้าทาย กว่าจะขึ้นมายืนล้ำหน้าทุกคน
ใคร ๆ ก็เป็นผู้นำได้ เพียงแค่คุณฝึกและหมั่นสร้างภาวะผู้นำให้เกิดกับตัวเรา ในหลายตำรา ในหลายอาจารย์ และในหลายสำนัก ต่างก็บอกเหมือนกัน
แต่การจะเป็นผู้นำให้ยืนยาว และเป็นผู้นำเหนือผู้นำนั้น ใคร ๆ ก็ทำ ได้จริงหรือ เพราะมันต้อง กล้า ซ่า บ้า และท้าทาย กว่าจะขึ้นมายืนล้ำหน้าทุกคน
สตีฟ จ๊อปส์ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนมากคนหนึ่ง
Nokia เคยเป็นผู้นำที่คิดเพียงมีผู้ตาม
ทำให้ผู้คนหันมาใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งถือว่าทำให้เราเปลี่ยนลักษณะการดำเนินชีวิต แต่ Nokia ก็พอใจเพียงแค่นั้น และไม่ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ๆ อีกเลย แต่จ๊อปส์ไม่คิดอย่างนั้น
เขาต้องการเป็นผู้นำของผู้นำ ด้วยการโค่น Nokia และสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้เกิดขึ้นกับโลกใบนี้ โลกใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว กับเทคโนโลยีที่เกือบครึ่งของประชากรโลกต้องใช้โทรศัพท์เพื่อ
social network มิใช่เพียงโทรเข้า
โทรออก และกลายเป็นตระกูล "i-" fever รวมถึงสร้างผู้นำของผู้ตามให้เกิดขึ้นใหม่ คือ Samsung
เมื่อจ๊อปส์เสียชีวิต Apple ก็ไม่สามารถรักษาความเป็นผู้นำของผู้นำได้ และกลับไปคืนสู่ความเป็นผู้นำของผู้ตาม เหมือนที่ Nokia เคยเป็น
ผู้นำของผู้นำจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยาก (ถ้ายาก คงไม่มีใครทำได้)
เมื่อจ๊อปส์เสียชีวิต Apple ก็ไม่สามารถรักษาความเป็นผู้นำของผู้นำได้ และกลับไปคืนสู่ความเป็นผู้นำของผู้ตาม เหมือนที่ Nokia เคยเป็น
ผู้นำของผู้นำจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยาก (ถ้ายาก คงไม่มีใครทำได้)
ใคร ๆ ก็เป็นที่หนึ่งได้ แต่การจะรักษาความเป็นที่หนึ่งไว้ตลอดไปนี่สิ ยาก
วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
จะทำงานให้สำเร็จ จงอย่ากลัวเจ็บ
จะทำงานให้สำเร็จ
จงอย่ากลัวเจ็บ
ในทุกย่างก้าวของการดำเนินชีวิตที่ผ่านมา และกำลังจะผ่านไป
เราทุกคนล้วนแล้วแต่เคยบาดเจ็บกับสิ่งที่เราได้ลงมือทำ
เริ่มแต่
ย้อนกลับไปสมัยที่เรายังเด็ก กว่าเราจะเริ่มยืนตั้งไข่ได้
เราก็ล้มแหมะ ก้นลงพื้นไม่รู้กี่รอบ
เหมือนเพลงที่ได้ยินผู้ใหญ่ร้องยามเราเป็นเด็กว่า
“ตั้งไข่ล้ม ต้มไข่กิน ไข่ตกดิน เก็บกินไม่ได้”
เปรียบเทียบเด็กทารกที่กำลังหัดยืน หัดเดิน ล้มหน้าคว่ำกันกี่รอบ
ร้องไห้งอแงด้วยความเจ็บจากการล้มสักกี่ครั้ง นับไม่ถ้วนกันเลยทีเดียว
แต่สุดท้าย .. เราก็ยืนได้ เดินได้ด้วยขาของเรา
ไม่ต้องพึ่งรถหัดเด็กเดิน ไม่ต้องจับมือพ่อแม่ ยามที่กลัวหกล้ม
หรือแม้แต่การหัดเขียนตัวหนังสือ พ่อแม่ต้องคอยจับมือเรา
ให้ลากเส้นไปตามที่มือพ่อแม่จะพาไป จากนั้นก็ลากตามรอยจุด จนเขียนเองได้
แล้วเราเคยมีสักครั้งไหมคะ ที่จะหยุดคิดว่า เราคงเดินไม่ได้
เขียนไม่ได้
หรือมีใครสักคนหรือไม่ ที่ยืน เดิน เขียนได้โดยไม่เริ่มนับหนึ่ง
เกิดมาจากท้องแม่ คุณหมอทำคลอดเสร็จ เดินได้ หรือจับปากกาเขียนชื่อตัวเองเลย
ถ้าใครตอบว่ามี คงต้องตามให้โทรทัศน์ไปถ่ายออกรายการ
คนบ้าหวยคงไปจุดธุปบูชาขอเลขกันจ้าละหวั่นละทีนี้
อีกตัวอย่างหนึ่งที่รับรู้ได้ถึงความเจ็บปวดก่อนความสำเร็จ
นั่นก็คือการหัดถีบจักรยาน เราล้มไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้ง
กว่าเราจะทำให้ยกเท้าขึ้นจากพื้น ปั่นจักรยานให้มันไปข้างหน้า
ประคองสองล้อพร้อมน้ำหนักตัวเราให้ไปข้างหน้าและทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้ม
เข่าและข้อศอก ถลอกปอกเปิก จนบางคน
เป็นรอยแผลเป็นจารึกถึงความพยายามจนสำเร็จอยู่ถึงทุกวันนี้
ความสำเร็จไม่ได้ได้มาง่าย ๆ แต่ก็ไม่ยากที่จะไขว่คว้า แค่เพียงแต่
เราไม่กลัวที่จะเริ่มและล้ม จำไว้เสมอว่า
จะทำงานให้สำเร็จ จงอย่ากลัวเจ็บ
ป้ายกำกับ:
ความสำเร็จ,
ทำงาน,
ผลงาน,
พนักงานใหม่,
อดทน
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ลงมือทำ ทำได้ และทำสำเร็จ
จงลงมือทำเมื่อแน่ใจจริง ๆ ว่า
สิ่งนั้น
คุ้มค่าที่จะทำ และ
สามารถจะทำได้
และ
เมื่อลงมือทำแล้ว
ต้อง
สำเร็จ
เคยนับไหมคะ ว่าในช่วงชีวิตการทำงาน
มีกี่ครั้งที่เราต้องรับปากและลงมือทำงานที่เราไม่ถนัด หรือไม่มั่นใจว่าเราจะทำได้
หรือรู้ว่าทำไม่ได้แน่ แต่เรากลับไม่กล้าปฏิเสธงานนั้นไป ด้วยเหตุผลร้อยแปด พร้อมกับคำว่า
“ได้ค่ะ” “ได้ครับ” หลุดออกมาจากปากเราแบบไม่ทันได้คิดให้ถี่ถ้วน
เป็นเรื่องปกติค่ะ โดยเฉพาะในหมู่คนไทย ที่มักจะไม่กล้าบอกปัดงานนั้น
ๆ เหตุผลหลักมีอยู่แค่สองอย่าง คือ
1. ความเกรงใจ ไม่ว่าจะเกรงใจเจ้านาย
เกรงใจเพื่อนร่วมงาน เกรงใจลูกค้า เป็นต้น ดูเหมือนคำว่า “เกรงใจ”
จะกลายเป็นพฤติกรรมประจำชาติของคนไทยในที่ทำงานไปแล้ว
(แต่พอออกนอกที่ทำงานเมื่อไหร่ ทำไมความเกรงใจหายไปหมดก็ไม่รู้
ดูได้จากการใช้สิ่งของหรือสถานที่สาธารณะร่วมกัน ตามหมู่บ้านขนาดเล็กถึงกลาง
พบเห็นจากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นต้น) แต่ตัวเกรงใจนี่ มักเจอประเภทเกรงใจกับคนที่เรารัก
เราชอบ หรือคนที่มีผลได้ผลเสียกับเรา แต่กลับขาดความเกรงใจและปฏิเสธทันควันกับคนที่เราไม่ชอบ
ไม่อยากร่วมงานด้วย หรือเราไม่ได้ประโยชน์อะไร ทั้ง ๆ ที่งานนั้น
มีความสำคัญกับบริษัท
2. ความกลัว สิ่งที่น่ากลัวอันเป็นสาเหตุต่อเนื่องจากความเกรงใจ
เพราะความกลัว เป็นสารตั้งต้นของความเกรงใจ เป็นปีศาจของการไม่ประสบความสำเร็จ
บางคนกลัวว่าถ้าปฏิเสธเจ้านายไปแล้ว เจ้านายจะไม่สนับสนุน บางคนกลัวว่า ปฏิเสธไป
จะเป็นการขัดใจเจ้านายแล้วจะมีผลกับการประเมินผลการทำงาน หรือโดนเจ้านายกลั่นแกล้งให้งานหนักในภายหลัง
บางคนกลัวเพื่อนร่วมงานไม่คบหาสมาคมแค่เพราะไม่ช่วยทำงานนั้นให้ บางคนกลัวสารพัด
ไม่น่าเชื่อที่หลายคนไม่เคยกลัวว่าหากทำไปแล้วทำไม่ได้ หรือทำไปแล้วล้มเลิกกลางคันจะก่อให้เกิดปัญหาใด
ๆ หรือไม่
ไม่ผิดหรอกนะคะ หากสองสิ่งนี้
เป็นเรื่องจริงกับชีวิตคุณซึ่งเป็นพนักงานออฟฟิศธรรมดาคนหนึ่ง ที่มักจะรับปากทำงานไปก่อน
แล้วทำได้หรือทำไม่ได้ ค่อยว่ากันทีหลัง เลิกกลางคันก็คงไม่เป็นไร (มั๊ง)
แต่มิใช่กับคนที่ต้องการก้าวหน้าในอาชีพไปสู่ตำแหน่งผู้บริหารในอนาคต
เพราะคนที่จะเป็นใหญ่ในวันข้างหน้า
หลักอย่างหนึ่งคือการต้องมีภาวะผู้นำ และหนึ่งในกฏของผู้นำก็คือ
“จงลงมือทำเมื่อแน่ใจจริง ๆ ว่าสิ่งนั้นคุ้มค่าที่จะทำ
และสามารถจะทำได้ และเมื่อลงมือทำแล้ว ต้องสำเร็จ”
****************************************************************************
อะไรที่เกินความสามารถ คนที่จะเป็นผู้นำที่ดีและยิ่งใหญ่
เขาจะปฏิเสธและไม่ทำค่ะ เพราะเขาทราบว่า โอกาสประสบความสำเร็จน้อยหรือไม่มีเลย
หากทำลงไป แล้วต้องล้มเลิกระหว่างทาง ความเสียหายจะเกิดขึ้นมากกว่าการปฏิเสธไม่ทำแต่เสียทีแรก
เสียทั้งเรื่องเวลาและทรัพยากร หรืออาจจะบั่นทอนกำลังใจคุณไปเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากสัดส่วนงานที่ไม่สำเร็จต่องานสำเร็จมีมาก
เมื่อใครก็ตาม ได้ขอร้องให้คุณช่วยงานหรือรับงานไปทำ
สิ่งแรกที่คุณควรทำคือ พิจารณาตัวคุณเองว่า คุณทำได้หรือทำไม่ได้
มั่นใจแค่ไหนว่าคุณทำได้ หากประสบพบปัญหาระหว่างทาง คุณจะมีวิธีแก้ปัญหา(คร่าวๆ)
หรือไม่ จากนั้นก็พิจารณาตัวงาน ว่างานที่จะทำนั้น เป็นไปได้หรือไม่ในทางปฏิบัติ
หรือมันเป็นเพียงแค่ความฝันลม ๆ แล้ง ๆ ของเจ้านายเท่านั้น
หากไปเจอลูกตื้อมาก ๆ เข้า อย่าปากหนักค่ะ
ถามขอข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไหร่
ยิ่งกว่ากับการตัดสินใจของคุณ เช่น เป้าหมาย ผู้ร่วมงาน ระยะเวลาของงานนั้น
กำหนดส่ง และความคาดหวัง
จากนั้น ถ้าคุณพิจารณาทุกสิ่งอย่างที่มีแล้ว ตอบตัวเองได้ว่า งานนี้
ฉันทำไม่ได้แน่ ก็ขอให้ปฏิเสธกลับไปพร้อมคำอธิบายว่าเหตุใดคุณจึงต้องปฏิเสธ
อย่าเล่นตอบแค่ว่า “ไม่เอาอ่ะ ผม/หนู/ดิฉัน ทำไม่ได้
ให้คนอื่นทำเหอะ ความสามารถผมไม่ถึง” ตอบแบบนี้เมื่อไหร่
คุณเป็นได้เจอลูกบังคับกลับมาแน่นอน
คนทำงานเก่ง เป็นผู้นำคนอื่นได้ ต้องหัดวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและความจริง
หากคุณคิดว่าคุณทำได้ รับปากทำงานนั้นเถอะค่ะ ลุยไปเลย มั่นใจแล้ว
ทำให้สุด
และเมื่อทำแล้ว จงทำมันให้สำเร็จ อย่าท้อถอย และไม่ล้มเลิกกลางคัน
“ท้อได้ แต่อย่าถอย.....ถอยได้ แต่อย่าถอน”
จำไว้เสมอค่ะ ว่า...
“เมื่อลงมือทำ จงมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จเท่านั้น”
ป้ายกำกับ:
เก่ง,
เกรงใจ,
ความกลัว,
ความสำเร็จ,
ชีวิต,
ผู้นำ,
มั่นใจ,
แรงกระตุ้น,
ลงมือทำ
วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
กำจัดความเฉื่อย ลดแรงต้าน ตัวหารความสำเร็จ
แรงเฉื่อย = แรงต้าน
ความเฉื่อยในการดำเนินชีวิตแต่ละวัน
คือแรงต้าน..
ไม่ให้เราพบความสำเร็จ..
ในวันต่อไป
ไม่น่าแปลกใจหรอก หากพบว่าในบางวัน เรารู้สึกไม่อยากทำอะไรเลย
ไม่กระตือรือร้น ความคิดไม่แล่น สมองไม่ไป ใจอยู่กับที่
มีแต่ความว่างแปล่าในตัวเอง
เพราะนั่นอาจเป็นการบ่งบอกถึงความเหนื่อยล้าของร่างกาย
ที่คุณใช้งานหนักมานาน ร่างกายจึงเรียกร้องต้องการการพักผ่อนและสร้างพลังเพื่อการทำงานในวันต่อไป
แต่หากว่าเป็นเพราะความท้อแท้ สิ้นหวัง หมดกำลังใจ แล้วละก็
นั่นเป็นสัญญานที่ไม่สู้จะดีนัก
ถ้าคุณกำลังลงมือทำอะไรอยู่และต้องการให้งานนั้นสำเร็จอย่างที่คุณต้องการ เพราะความเฉื่อยนั้น
มันจะกลายเป็นแรงต้านให้เราพบความสำเร็จช้าลงหรือไม่พบมันเลย
กำจัดความเฉื่อย เพื่อลดแรงต้าน ด้วยวิธีการง่ายไม่กี่ข้อ ดังนี้
1. ลองสำรวจความต้องการในความสำเร็จของเราดูสิคะ
ว่ายังอยู่หรือเปล่า เรายังอยากประสบความสำเร็จอยู่หรือไม่
2. ตรวจดูว่า ความเฉื่อยที่เกิดขึ้น
มันเกิดจากอะไร มันมาจากไหน มาได้อย่างไร เมื่อเจอแล้ว
เราจะได้หลีกเลี่ยงหรือป้องกันมิให้มันกลับมาอีก
3. หาแรงกระตุ้นเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจให้งานนั้นสำเร็จ
เราเคยได้รับแรงบันดาลใจจากอะไรแล้วมันทำหน้าที่ได้ดี เช่น
อ่านหนังสือของคนที่เราชื่นชม มองหาความสำเร็จของคนที่เราต้องการเอาเป็นแบบอย่าง
สิ่งที่เราจะได้เมื่อเราประสบความสำเร็จ นำสิ่งเหล่านั้น มากระตุ้นเราอีกครั้ง
4. ทำกิจกรรมอื่นที่ทำให้เราผ่อนคลาย
สนุก และมีความสุขกับมัน เช่น เล่นกีฬา
การเสียเหงื่อจะทำให้ร่างกายเราผ่อนคลายความตึงเครียด เม้ามอยกับเพื่อนฝูง
จะทำให้เราได้เหมือนระบาย นอกจากนั้น เราอาจได้แรงบันดาลใจหรือไอเดียใหม่ ๆ
จากเพื่อนมาต่อยอดงานของเราได้อีก ออกเดินทางไปยังสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ
เช่นเปลี่ยนที่ทานข้าว เปลี่ยนเส้นทางกลับบ้าน เดินช้อปปิ้งตลาดนัดอื่น เป็นต้น
ทำอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำเดิม จะช่วยจุดไฟในตัวเราอีกครั้ง
5. ลงมือทำงานนั้นต่อ
แต่ไม่ต้องคาดหวังถึงจำนวนงานที่ต้องเสร็จ แม้เพียงสัก 1 เปอร์เซนต์
ที่ทำต่อ ก็เท่ากับอย่างน้อย ได้ลดแรงต้านไป 1 เปอร์เซนต์เช่นกัน
ง่าย ๆ แค่นี้เอง เราก็จะสามารถกำจัดความเฉื่อยในตัวเราออกไปได้
อย่าได้กังวลหรือตกใจไปค่ะ หากพบว่า ความเฉื่อยมันเข้ามาเกาะกินแรงบันดาลใจของคุณ
หาทางกำจัดมันซะ อย่าทิ้งมันไว้ให้นาน ยิ่งละเลยไม่กำจัดมันนานวันเข้า
ความเฉื่อยจะขยายมากขึ้นเหมือนหินปูนที่ติดอยู่กับเราถ้าเราไม่ขูดมันทิ้ง
มันจะเกาะกิน และทำลายเข้าไปถึงเส้นประสาทเราได้เลย
กำจัดความเฉื่อยได้ คุณจะลดแรงต้าน และสุดท้าย
คุณจะพบพานความสำเร็จในงานนั้นอย่างแน่นอน
หัีวหน้างานกับลูกน้อง ดั่งการเลือกเพชร
เพชรแท้ มักจะถูกเจียระไน ขัดแต่งมาอย่างดีและใช้เวลานาน จนออกมาเป็นเพชรที่มีคุณค่าและราคาแพง ปราศจากการโฆษณาใด ๆ
เพชรเทียม มักจะถูกเจียระไน และขัดแต่งอย่างลวกๆ และใช้เวลาสั้นกว่า และออกมาพร้อมสรรพคุณในการโฆษณา จนคนหลงเชื่อ หาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป
เพชรแท้จะดีเมื่อผู้ใส่มองเห็นความคุ้มค่ากับราคา และพร้อมทุ่มเทกายใจในการดูแลรักษา
เพชรเทียมจะดีเมื่อผู้ใส่มองเห็นคุณค่า และให้เวลาในการตกแต่งเพิ่มเติมเพื่ิอเสริมราคา
เพชรแท้หรือเทียม ล้วนแล้วแต่ขึ้นชื่อว่าเพชร ผู้นำไปใส่ต่างหากคือคนเพิ่มความแท้หรือเทียมให้กับมัน
หลักการที่หัวหน้างานควรนำไปใช้บริหารลูกน้องและเมื่อลูกน้องรู้ตัวว่าตนเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม
บางคน สามารถเลือกลูกน้องตัวเองได้ จ่ายในราคาแพง (จ้างงาน-เงินเดือน) เมื่อได้มา ก็คุ้มค่ากับราคาที่จ่าย แต่หากได้มาแล้วไม่มีงานใหญ่ให้ทำ สมกับความสามารถที่คนเก่งๆทำได้ ก็จะเป็นดั่งเพชรแท้ที่อยู่บนร่างกายคนที่ไม่เห็นคุณค่า ไม่ดูแลรักษา ปล่อยให้เก่าไปตามกาลเวลา และสุดท้าย ก็ดูไม่ออกว่าเป็นเพชรแท้ที่เคยสวยงามมาก่อน
บางคน ไม่สามารถเลือกลุกน้องตัวเองได้ เข้ามาทำงานเป็นหัวหน้าใหม่ มีคนเก่าอยู่แล้ว หรือว่าจ้างพนักงานใหม่มา แต่ด้วยงบประมาณ จึงไม่สามารถจ้างได้ในราคาแพง อย่างนี้ หัวหน้างานก็ต้องขัดเกลา เจียระไนเพชรที่อยู่ในมือ ให้มีคุณค่าเทียบได้กับเพชรแท้ที่มีราคาแพง ใช้เวลานานกว่าแน่นอน แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นเพชร ไม่ว่าจะแท้หรือเทียม ล้วนแล้วแต่มีความสวยงามในตัวของมันเอง
ขึ้นอยู่กับคนที่มีเพชรในมือมากกว่า ว่าจะมองเห็นคุณค่าและสร้างราคาให้มันได้มากแค่ไหน
เพชรเทียม มักจะถูกเจียระไน และขัดแต่งอย่างลวกๆ และใช้เวลาสั้นกว่า และออกมาพร้อมสรรพคุณในการโฆษณา จนคนหลงเชื่อ หาซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป
เพชรแท้จะดีเมื่อผู้ใส่มองเห็นความคุ้มค่ากับราคา และพร้อมทุ่มเทกายใจในการดูแลรักษา
เพชรเทียมจะดีเมื่อผู้ใส่มองเห็นคุณค่า และให้เวลาในการตกแต่งเพิ่มเติมเพื่ิอเสริมราคา
เพชรแท้หรือเทียม ล้วนแล้วแต่ขึ้นชื่อว่าเพชร ผู้นำไปใส่ต่างหากคือคนเพิ่มความแท้หรือเทียมให้กับมัน
หลักการที่หัวหน้างานควรนำไปใช้บริหารลูกน้องและเมื่อลูกน้องรู้ตัวว่าตนเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม
บางคน สามารถเลือกลูกน้องตัวเองได้ จ่ายในราคาแพง (จ้างงาน-เงินเดือน) เมื่อได้มา ก็คุ้มค่ากับราคาที่จ่าย แต่หากได้มาแล้วไม่มีงานใหญ่ให้ทำ สมกับความสามารถที่คนเก่งๆทำได้ ก็จะเป็นดั่งเพชรแท้ที่อยู่บนร่างกายคนที่ไม่เห็นคุณค่า ไม่ดูแลรักษา ปล่อยให้เก่าไปตามกาลเวลา และสุดท้าย ก็ดูไม่ออกว่าเป็นเพชรแท้ที่เคยสวยงามมาก่อน
บางคน ไม่สามารถเลือกลุกน้องตัวเองได้ เข้ามาทำงานเป็นหัวหน้าใหม่ มีคนเก่าอยู่แล้ว หรือว่าจ้างพนักงานใหม่มา แต่ด้วยงบประมาณ จึงไม่สามารถจ้างได้ในราคาแพง อย่างนี้ หัวหน้างานก็ต้องขัดเกลา เจียระไนเพชรที่อยู่ในมือ ให้มีคุณค่าเทียบได้กับเพชรแท้ที่มีราคาแพง ใช้เวลานานกว่าแน่นอน แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นเพชร ไม่ว่าจะแท้หรือเทียม ล้วนแล้วแต่มีความสวยงามในตัวของมันเอง
ขึ้นอยู่กับคนที่มีเพชรในมือมากกว่า ว่าจะมองเห็นคุณค่าและสร้างราคาให้มันได้มากแค่ไหน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)